0

ข้าวก่ำล้านนา

2023-11-08 00:59:21

#ข้าวก่ำ #ข้าวก่ำ สรรพคุณ #ข้าวก่ำล้านนา #Khao Kum Lanna #Kum Rice

ข้าวก่ำล้านนา พญาแห่งข้าวทั้งปวง

(Khao Kum Lanna, Kum Rice)

เป็นข้าวพื้นถิ่นที่มีสีม่วงเข้มออกดำ ที่พบได้ในภาคเหนือของไทย 

ด้วยคุณลักษณะพิเศษ คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณทางยา และสามารถป้องกันผองภัยให้กับข้าวอื่นๆได้ 

ด้วยในความเชื่อของชาวล้านนา หากนาผืนใดมีข้าวก่ำปลูกอยู่ ก็จะปราศจากโรคและแมลงรบกวน

ชาวบ้านจึงนิยมปลูกข้าวกำ่ไว้ที่จุดปล่อยน้ำเข้านา(ต้าง) หรือปลูกแทรกกับข้าวขาวทั่วๆ ไป 

เพื่อให้น้ำที่ผ่านนาข้าวก่ำ นำสารที่เป็นสีของใบและเมล็ดข้าวก่ำ ที่เรียกว่า สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin)

ไหลเข้าวนในนาเพื่อไล่แมลง และป้องกันการ เกิดโรคต่างๆที่จะทำลายต้นข้าว


ด้านโภชนาการ 

ข้าวก่ำคือข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะสารด้านอนุมูลอิสระ 

เช่น มีสารแกมมาโอรีซานอล สารแอนโทไซยานินและวิตามินอี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่สูงมาก

ซึ่งสารกลุ่มนี้มีสูงกว่าในข้าวทั่วไป งานวิจัยยังพบอีกว่าเมื่อแกมมาโอไรซานอลได้ทำงานร่วมกับแอนโธไซยานิน

จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารชะลอความแก่ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดโคเลสเตอรอล 

ป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคอ้วน ความดัน โรคหัวใจ และความจำเสื่อม จึงเหมาะแก่ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย

สามารถลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ 


ด้านสรรคุณทางสมุนไพร

การใช้เป็นยารักษาโรค

-โรคตกเลือดในสตรี ในสมัยก่อนหากสตรีใดคลอดลูกและมีการตกเลือดมาก การ

รักษาก็คือ การนำเอาต้นข้าวก่ำมาต้ม เคี่ยวน้ำให้งวดลงเล็กน้อยแล้วให้รับประทาน

-โรค์ท้องร่วง การรักษาคือการนำเอาเมล็ดข้าวก่ (ข้าวกล้อง) มา "หลาม" 

(แช่น้ำในกระบอกไม้ไผ่แล้วอิงไฟจนสุก) เป็น "ข้าวหลามข้าวก่ำ" รับประทาน

ปัจจุบันข้าวหลามข้าวก่ำยังเป็นที่นิยมกันทั่วไปในทุกๆท้องถิ่น

ไม่เฉพาะแต่ทางภาคเหนือเท่านั้น


ด้านการเสริมความงาม

ใช้ข้าวก่ำทำเป็นสบู่ขัดผิว,ใช้พอกหน้าเพื่อให้ใบหน้าดูเยาว์วัย ซึ่งการใช้ผงข้าวก่ำ

พอกหน้าเพื่อรักษาสุขภาพใบหน้านี้เคยปรากฏในตำหรับเสริมความงามของเกอิชาในสมัย

ญี่ปุ่นโบราณด้วย ความสมเหตุสมผลน่าจะเนื่องมาจากคุณสมบัติพิเศษของสารสีก่ำ (ม่วง

ดำ) คือ แอนโตไซยานิน ที่ละลายออกมาได้ง่ายแม้โดยน้ำ


ด้านประเพณีวัฒนธรรม

ใช้เป็นวัตถุดิบในการท่าขนมหวาน ในเทศกาลประเพณี ต่างๆ ของชาวล้านนา 

เช่น งานเลี้ยงผี งานปอยหลวง งานกินก๋วยสลาก เป็นต้น โดยใช้ข้าวเหนียวดำเป็นหลัก

ทำให้ขนมมีสีสวยเหมาะส่าหรับงานเทศกาลพิเศษ ได้แก่ ขนมจ๊อก ข้าวต้มหัวหงอก

ข้าวหนุกงา และข้าวอีตู และยังคงใช้เป็นเครื่องสักการบูชา ในพิธีเซ่นสรวง

ตามประเพณีของชาวล้านนาที่ยึดถือและปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบัน 

นอกจากนี้ยังใช้ทำ ข้าวนึ่ง ข้าวต้ม(ห่อใบตองมัดด้วยตอกแล้วต้ม) 

ข้าวหลาม (ข้าวแช้ในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผา) ขนมเนียบ(น่าน)

หรือที่เรียก ขนมจ๊อก (เชียงใหม่) หรือ ขนมเทียน (กรุงเทพฯ) 

และข้าวแต๋น (ข้าวนึ่งอัดเป็นแผ่นเล็กๆตากแห้งแล้วทอด 

ซึ่งไม่ว่าในกิจกรรมใดจะใช้ข้าวก่ำจำนวนเพียงเล็กน้อย

แช่ผสมกับข้าวขาวซึ่งจะทำให้ข้าวทั้งหมดถูกย้อมกลายเป็นสีก่ำ(สีม่วงดำ)



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (2528) ได้ทรงกล่าวไว้ในบท

พระราชนิพนธ์ "ย่ำแดนมังกร" เมื่อเสด็จเยี่ยมเมืองชีอานว่า "ข้าพเจ้าลืมกล่าวถึงอาหาร

อีกอย่างหนึ่ง เป็นข้าวต้มทำจากข้าวเจ้าสีดำ ที่มีอยู่ในหมู่บ้านเดียวในมณฑล ดูเหมือน

จะต้องใช้น้ำในลำธารนั้นรคจึงขึ้น ทางจีนกำลังวิจัยข้าวพันธุ์นี้อยู่ เขาว่ากันว่าข้าวพันธุ์นี้มี

ค่ามากรักษาโรคมะเร็ง รับประทานได้ทั้งเป็นของหวานและของคาว



ในภูมิภาคอื่นๆก็มีสายพันธ์ุข้าวก่ำที่หลากหลายกระจายอยู่ในหลายพื้นที่

และมีภูมิปัญญาการใช้ข้าวก่ำในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายอีกหลายตำรับ

ภูมิปัญญาชาวภาคใต้

โรคฝืในท้อง ให้นำเอาเมล็ดข้าวก่ำทั้งเปลือกมาบดหรือตำกับผักตำถึง ทั้งรากใบ

อก และผล(หากมี) นำส่วนผสมนั้นไปต้ม จากนั้นใช้ผ้ากรองเอาแต่น้ำต้มไปดื่ม

 โรคผิวหนังบางชนิด เช่นโรดหิด นำเมล็ดข้าวก่ำทั้งเปลือกมาบดหรือตำร่วมกับ

ผักตำลึงเช่นกัน แต่ไม่ต้องนำไปต้ม หากใช้ส่วนผสมนั้นพอกตรงจุดของผิวหนังที่เป็นโรค

ก็สามารถใช้รักษาโรคผิวหนังได้

นอกจากนี้ในภูมิปัญญาของชาวสุราษฎร์ธานี มีบันทึกใช้การใช้รักษา

ไข้ทับระดูในสตรี ,ไข้รุมๆ,แก้ผดผื่นคันตามร่างกายโดยเฉพาะในสตรีแม่ลูกอ่อน



หมายเหตุ : 

ข้าวเหนียวก่ำ 

หรือเรียกตามภาษาพื้นเมืองของทางเหนือและ

ตะวันออกเฉียงเหนือว่า ข้าวก่ำ ซึ่งคำว่าก่ำ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.

๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า "สุกใสจัด หรือ เข้มจัด (มักใช้กับสีแดงหรือทองที่สุก)" ดังนั้น

ภาษาเรียกตามท้องถิ่นของชาวเหนือและอีสานที่เรียกชื่อข้าวชนิดนี้ว่า “ข้าวก่ำ”

จึงเป็นการเรียกตามลักษณะสีของเมล็ดที่มีสีแดงเข้ม หรือที่เรียกว่า แดงก่ำ 

ก็คือสีม่วงนั่นเอง

ข้าวก่ำล้านนา  

"ข้าวก่ำ" เป็นคำเรียกข้าวเหนียวที่มีสีดำของทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ซึ่งสำหรับข้าวก่ำล้านนาหมายถึงข้าวก่ำสายพันธุ์ดอยสะเก็ด ข้าวอมก๋อย ข้าวกำพะเยา หรือ

ข้าวก่ำพื้นเมืองที่มีคุณภาพดีซึ่งปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย

ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน 

ปัจจุบัน ข้าวก่ำล้านนาคือหนึ่งในข้าวไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

Geographical Indicator เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑


--------------------

ข้อมูลอ้างอิง :

-ข้าวก่ำ (ข้าวเหนียวดำ) ทรัพยากรข้าวไทยที่ถูกลืม รศ.ดร.ดำเนิน กาละดี 

คณะเกษตรศาสตร์ หน่วยวิจัยข้าวก่ำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

-ประกาศโฆษณาการรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เล่มที่ ๑๒ เลขที่ประกาศ ๔๔  

 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ 

-Thai Rice for Life กรมการข้าว กระทรวงเกษตร

-หน่วยวิจัยข้าวก่ำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://web.agri.cmu.ac.th/prru/i … 7:-1-2554&Itemid=55


ติดต่อเรา / Contact Us 


Tel. 081-5789-544
(เวลา 9:30 - 18:30 น. 

ยกเว้นวันเสาร์, วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)


Email: SHERPUBLIQ@GMAIL.COM

Copyright ® 2021 SHERPUBLIQ.COM