0

ชากุหลาบ ข้อมูลจากงานวิจัย

2022-05-13 19:15:28

#ชากุหลาบมอญ #ชากุหลาบ #rose tea #flower tea #ชาดอกไม้ #herbal tea #sherpubliq rose tea

ชากุหลาบจากข้อมูลงานวิจัย


สำหรับในประเทศไทยกุหลาบที่เป็นสายพันธุ์ของเราเองคือกุหลาบมอญ 

หรือ สมุนไพรไทยโบราณเรียกว่าดอกยี่สุ่น (Damask Rose) 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rosa damascena MilI อยู่ในวงศ์ ROSACEAE 

เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1 - 2 ม. ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีชมพูเข้ม และสีแดง 


มีกลิ่นหอม กลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลกทั้งเอเชีย 

(พบมากในอินเดีย) ประเทศแถบตะวันออกกลาง และยุโรป 

โดยเฉพาะในประเทศอิหร่าน ตุรกี และบัลกาเรีย 

มีการผลิตน้ำมันหอมระเหยจากดอกกุหลาบมอญกันอย่างแพร่หลาย 


สำหรับในประเทศไทยกุหลาบมอญเป็นกุหลาบที่ปลูกง่าย ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ 

และเกิดโรคน้อยกว่ากุหลาบตัดดอก (Rosa hybrid) 

ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการดูแลรักษา 

จึงมีความปลอดภัยเมื่อนำดอกกุหลาบมอญมาใช้ประโยชน์ 


คนไทยใช้ประโยชน์จากน้ำมันดอกกุหลาบมอญมาช้านาน โดยการนำเข้ามา

จากประเทศอิหร่านหรือซีเรีย เรียกว่า "น้ำดอกไม้เทศ" ได้จากการละลายน้ำมันดอกกุหลาบในน้ำต้มสุก นิยมนำมาใช้เป็นน้ำกระสายยาในยาขนานต่าง ๆ 

สรรพคุณ"แผนโบราณ"ของดอกกุหลาบมอญคือ

แก้ไข้ตัวร้อน แก้กระหาย แก้อ่อนเพลีย และบำรุงกำลัง ช่วยระบาย เป็นต้น


สรรพคุณทางเภสัชจากงานวิจัย

ช่วยบำรุงสมองกระตุ้นความจำ  ช่วยคลายกังวล  ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

ยับยั้งอาการลมชัก  ช่วยขยายหลอดลม ลดระดับน้ำตาลในเลือด

ช่วยต้านอนุมูลอิสระ



สารเคมีที่พบในดอก

terpenes, glycosides, flavonoids, anthocyanins น้ำมันหอมระเหย เช่น Bcitronellol,

nonadecane, geraniol, citrenellol, phenyl ethylalcohol, heneicosane, nerol และ kaempferol

(13)


ฤทธิ์ทางเกสัชวิทยา


ฤทธิ์ปกป้องสมอง

ทดสอบฤทธิ์ปกป้องสมองจากน้ำมันหอมระเหยดอกกุหลาบมอญ 

โดยวัดระดับสารสำคัญ ด้วยเทคนิค Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) 

แล้วทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acetyIcholinesterase (AChE) 

และ butyrylcholinesterase (BChE) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท

ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้และจดจำ 


ผลการทดสอบพบสารสำคัญต่างๆ ในกุหลาบมอญได้แก่ citronellol, geraniol, nerol และ phenylethyl alcohol 

พบว่าน้ำมันหอมระเหยดอกกุหลาบมอญ

มีฤทธิ์ยับยั้ง AChE (60.86 ฯ 1.99%) และ BChE (51.08 ท 1.70%) ที่ 1,000 มคก./มล. โดย phenylethyI alcoho 

มีฤทธิ์ยับยั้ง AChE ได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสารอื่น 

และเมื่อทดสอบ phenylethyI alcohol เพิ่มเติมด้วย molecular docking simulation ซึ่งเป็นเทคนิคคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบโมเลกุลเพื่อหาตำแหน่งและรูปร่างโมเลกุล

ของการจับตัวกันของ 2 โมเลกุลพบว่า phenylethyI alcoho จับกับ BChE ได้ดีกว่า AChE 


จากผลการทดสอบเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกุหลาบมอญต่อการกระตุ้นความจำ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนายรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer's disease) (15) ฤทธิ์คลายกังวลbio robooeieree N


ฤทธิ์คลายกังวล

ทดสอบฤทธิ์คลายกังวลในหนูเจอร์บิลโดยให้หนูดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยกุหลาบมอญ

แล้วประเมินความกังวลด้วยเครื่องมือ elevated plus maze และ black white box เปรียบเทียบกับ ยาคลายกังวล diazepam 


ผลการทดสอบพบว่าหลังจากให้หนูดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยเป็นเวลา 24 ชม. หนูจะแสดง

พฤติกรรมที่บ่งขี้ถึงความคลายกังวล และเมื่อให้หนูดมน้ำมันหอมระเหยติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หนูจะมีพฤติกรรมคลายกังวลมากขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดอาการง่วงซึม

(sedation)(16)




ฤทธิ์ต่อการนอนหลับ

การศึกษาฤทธิ์ของกุหลาบมอญต่อการนอนหลับในหนูเม้าส์ ทดสอบโดยใช้สารสกัดดอก

กุหลาบมอญในน้ำ เอทานอล และคลอโรฟอร์ม แต่ละสารสกัดใช้ขนาด 100, 500 และ 1,000 มก.

กก. (สารสกัดคลอโรฟอร์มใช้ขนาด 500 และ 1,000 มก./กก.) ฉีดเข้าทางช่องท้องของหนู

เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมผลบวกซึ่งให้ยา (iazepam (3 มก./กก.) และกลุ่มดวบคุมผลลบที่ให้

น้ำเกลือ (10 มล./กก.) หลังจากนั้น 30 นาที ฉีดยานอนหลับ pentobarbital ขนาด 30 มก.Jกก.


ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลและน้ำที่ขนาด 500 และ 1,000 มก./กก. มีผลช่วยเพิ่มระยะเวลาการนอนหลับเมื่อเปรียบเทียบกับยา diazepam (17)



ฤทธิ์ยับยั้งอาการลมชัก

การศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดสองด้าน (double blind) เกี่ยวกับฤทธิ์ของกุหลาบมอญใน

การยับยั้งอาการลมชัก โดยทำการศึกษาในเด็กจำนวน 16 คน ผู้หญิง 9 คน ผู้ชาย 7 คน อายุระหว่าง - 13 ปี ที่ป่วยเป็นโรคลมชักและไม่ตอบสนองต่อการรักษา โดยให้น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบมอญที่สกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำขนาด 5 มก.กก. หรือยาหลอกแก่ผู้ทดสอบในแต่ละคน 3 ครั้งวัน ติ๊ดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และสลับการให้สารหลังจากหยุดพักก่อนเปลี่ยนวิธีการรักษา (wash out) 2 สัปดาห์ 

ผลการทดสอบพบว่า น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบมอญส่งผลให้ค่าเฉลี่ยดวามถี่

ของการเกิดอาการชักลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก 

ผู้ป่วย 3 คน ไม่พบอาการซัก ผู้ป่วย 12 คน มีความถี่ของการเกิดอาการชักลดลงกว่า 50% และมีเพียง 1 คน ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย

น้ำมันหอมระเหย จากผลการทดสอบผู้วิจัยสรุปว่าน้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบมอญช่วยลด

อาการซักในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาได้ (18)



ฤทธิ์ขยายหลอดลม

ทำการทดสอบในหลอดลมที่แยกออกมาจากตัวหนูตะเภา ซึ่งกระตุ้นให้หดตัวด้วยสาร

ต่างๆ คือ กลุ่มที่ 1 กระตุ้นด้วย KCI กลุ่มที่ 2 กระตุ้นด้วย methachline กลุ่มที่ 3 กระตุ้นด้วย

propranolol และ chlorpheniramine แต่ละกลุ่มให้สารสกัดเอทานอลและน้ำมันหอมระเหยจาก

ดอกกุหลาบมอญ เปรียบเทียบกับยาขยายหลอดลม theophylline 


ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอล และน้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบมอญมีฤทธิ์ทำให้หลอดลมในกลุ่มที่ 1 และ 2 ขยายด้วใกล้เคียงกับกลุ่มที่ให้ยา theophyline โดยประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับขนาดของสารที่ใช้ ส่วนกลุ่มที่3 ไม่พบการขยายตัวของหลอดลม นักวิจัยให้ความเห็นว่ากลไกในการขยายหลอดลมอาจเกิดจากการกระตุ้น Badrenoceptor และยับยั้ง histamine H, receptor (19)



ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด

มีรายงานระบุว่าสารสกัดเมทานอลของดอกกุหลาบมอญมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ๕.-

glucosidase และยังพบว่าสารสกัดขนาด 100 - 1,000 มก/กก.นน.ตัว 

ส่งผลลดระดับน้ำตาลในเลือดทั้งในหนูแรทปกติและในหนูแรทที่ถูกชักนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin (20)



ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำของกลีบดอก

กุหลาบมอญ และน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธี DPPH พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูง (21) และมีการทดสอบในหนูแรทที่ถูกชักนำให้เกิดภาวะเครียด ดมน้ำมันหอมระเหยกุหลาบมอญขนาด 0.15 มล.กก. เป็นเวลา 28 วัน พบว่าระดับ แipid peroxidation ในสมองของหนูลดลงและมีระดับสารด้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามิน A, E และ C และ Bcarotene สูงกว่ากลุ่มควบคุม (22)



เอกสารอ้างอิง : จุลสารข้อมูลสมุนไพร Medical Plant Newsletter 

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

จุลสารข้อมูลสมุนไพร 8 31(3):2557



ติดต่อเรา / Contact Us 


Tel. 081-5789-544
(เวลา 9:30 - 18:30 น. 

ยกเว้นวันเสาร์, วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)


Email: SHERPUBLIQ@GMAIL.COM

Copyright ® 2021 SHERPUBLIQ.COM